Thai-lca
Life Cycle Assessment : LCA

    ปัจจุบันประเด็นสิ่งแวดล้อมถือเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึงในแวดวงต่างๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ที่มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมควรจัดอยู่ในประเด็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นประเด็นสำคัญ ที่ทำให้เกิดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง ดังนั้นกลุ่มคนต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาในกลุ่มนักวิจัยได้หันมาให้ความสนใจกับการแก้ไขปัญหานี้ โดยเริ่มจากการกำหนดมาตรการในการผลิตสินค้าให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง มีการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดทำลายสิ่งแวดล้อม โดยมาตรการเหล่านี้มีการนำมาบังคับใช้กับประเทศผลิตสินค้าส่งออกแล้ว ซึ่งถือเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier)

    จากความตื่นตัวในการแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้การประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจมากขึ้น ถ้าเทียบกันกับในอดีตที่ผ่านมาแม้ว่า LCA จะเป็นชุดมาตรฐานในอนุกรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 แต่ยังได้รับความสนใจในวงแคบ จากแนวคิดตลอดวัฏจักรชีวิตของการประเมิน LCA ซึ่งจะทำให้ทราบว่าตลอดห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการจัดการของเสียนั้น ทุกขั้นตอนล้วนเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น ทั้งเกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและการปล่อยของเสีย ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันแนวคิดด้าน LCA จึงเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ถูกนำไปใช้กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่น ทำให้ผู้บริโภคโลกสวยในยุคดิจิตอลให้ความสำคัญกับการเลือกบริโภค ส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างๆ เกิดความตระหนักในการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น และเกิดการแข่งขันเพื่อแสดงธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

LCA History in Thailand
ประวัติของ LCA ในประเทศไทย
2540

    LCA เริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2540 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (TISI) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ทำการเผยแพร่ LCA ซึ่งเป็นชุดมาตรฐานในอนุกรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมมีความรู้ความเข้าใจ และดำเนินการตามมาตรฐาน

    มีการสร้างเครือข่ายการรวมกลุ่มผู้สนใจด้าน LCA ของประเทศไทย ชื่อว่า Thai LCA Network  โดยเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ด้าน LCA ผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ [email protected]. ในระยะแรกการศึกษาด้าน LCA ยังจำกัดในเฉพาะกลุ่มคนบางกลุ่ม ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของสถาบันการศึกษาและนักวิจัย ยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ให้ความสำคัญและผลักดันองค์ความรู้ด้าน LCA สู่ภาคธุรกิจอุสาหกรรมและสาธารณะ โดยผ่านกิจกรรมการอบรม สัมมนา และโครงการวิจัยเรื่อง LCA

2545
2552

    เป็นการเสริมสร้างความรู้และทักษะให้กับผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไป เช่น สำนักเศรษฐกิจการเกษตร โดยมีจัดอบรมการการประเมินวัฏจักรชีวิตและการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในภาคการเกษตร,โครงการกิจกรรม: พัฒนาสินค้าไหมไทยสู่มาตรฐานการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการเมืองเกษตรสีเขียว (Green Agriculture City) และ การจัดทำบัญชีผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียว (Green GDP) ในภาคอุตสาหกรรม

Development of LCA in Thailand
การพัฒนาระบบเครือข่าย LCA ในประเทศไทย

แรงผลักดันและการขับเคลื่อนต่าง ๆ จากส่วนงานหลายฝ่ายทำให้เกิดการสร้างเครือข่าย LCA ในประเทศไทยขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ทางด้าน LCA ได้อย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบเครือข่าย

Thai LCA Network

    เครือข่ายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การประเมินวัฏจักรชีวิต (Thai LCA Network) ในระยะแรกที่ผ่านมา จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA)

    เครือข่ายที่จัดทำระบบฐานข้อมูลและการสืบค้น นักวิจัย โครงงานวิจัย รวมทั้ง ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารและการประชุมวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ LCA ในประเทศไทยผ่านระบบออนไลน์ โดยพัฒนามาจาก Thai LCA Network

Thai LCA Library
CFO Local Government

    เครือข่ายการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

    เครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้โครงการ “การเพิ่มขีดความสามารถด้านการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ”

Thai Green Design Network (TGDN)
Thai National Life Cycle Inventory Database

    เครือข่ายที่รวบรวมฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศ (Thai National Life Cycle Inventory Database) ได้รับการพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2549 โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

    โปรแกรมสำเร็จรูปอย่างง่าย ที่สนับสนุนโดย "โครงการเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมไทยในการแข่งขันภายใต้กฎระเบียบของประเทศคู่ค้า" กระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประเมินค่าผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่จัดทำขึ้น เพื่อช่วยนักออกแบบในการประเมินผลิตภัณฑ์เบื้องต้น ในขั้นการออกแบบผลิตภัณฑ์

SEPE (Simple Environment Program for Enterprise)